via The Standard, 03 July 2024: This article in Thai recounts Thailand’s ongoing struggle to reclaim its lost antiques, such as the Golden Boy and the Praying Woman, reveals a complex web of smuggling, war, and influential brokers like Douglas Latchford. These cultural treasures, often found in foreign museums, highlight both the historical plundering during the Vietnam and Cambodian wars and the challenges faced in reclaiming them today. Efforts by archaeologists and committees have yielded some success, but many items still remain abroad, waiting for their return.
ไทยเพิ่งตั้งคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศเมื่อปี 2017 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แต่ก่อนหน้านั้นทางรัฐไม่ได้ขยับในเรื่องนี้มากเท่าไร ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักวิชาการและนักโบราณคดีที่รวมตัวกันเอง เพื่อหาทางทวงคืนเอาสมบัติของชาติกลับคืนมา เช่น กลุ่มสำนึก 300 องค์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อทวงคืนโบราณวัตถุของไทยจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประติมากรรมสำริดประโคนชัยที่หายออกไปกว่า 300 องค์
การทวงคืนโบราณวัตถุในปัจจุบันถือว่าง่ายกว่าแต่ก่อนมาก เพราะตอนนี้สหรัฐฯ เริ่มจริงจังกับการติดตามโบราณวัตถุที่ผิดกฎหมาย เพื่อปราบปรามการฟอกเงินหรือเลี่ยงภาษีผ่านการบริจาคโบราณวัตถุ
ถ้าไทยหรือประเทศไหนจะทวงคืนโบราณวัตถุ ตามลำดับขั้นตอนจะต้องส่งหนังสือไปยังสำนักงานสืบสวนความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา หรือ Homeland Security Investigations: HSI พร้อมแนบข้อมูลการศึกษาทางวิชาการหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยืนยันว่าโบราณวัตถุชิ้นนั้นมีถิ่นกำเนิดในประเทศจริง และถูกลักลอบนำออกไปโดยวิธีการที่ผิดกฎหมาย HSI ก็จะดำเนินการสืบสวนเรื่องนี้กับพิพิธภัณฑ์คู่กรณี และดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ทางกฎหมาย เพื่อนำโบราณวัตถุกลับมาให้ประเทศต้นทาง
จนถึงวันนี้คณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยได้ส่งหนังสือทวงคืนโบราณวัตถุไปแล้ว 2 ฉบับ ฉบับแรกทวงคืนทับหลังปราสาทหนองหงส์และทับหลังปราสาทเขาโล้น โดยได้กลับคืนมาเรียบร้อย